วันเสาร์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2553

Google วันนี้ "Bucky ball"











วันนี้ถ้าใครเข้า google คงสังเกตเห็นสิ่งผิดปกติกัน 
นั่นคือลูกบอลปริศนาที่หมุนไปมาตามเมาส์เราอย่างเมามัน
ถ้าใครซนอีกหน่อย เอาเมาส์ไปชี้ก็จะเห็นข้อความ "ครบรอบ25ปีของบัคกี้บอล"ขึ้นมา
แล้วเจ้า "บัคกี้บอล" มันคืออะไรกันนะ ตามไปดูกันดีกว่า
แบบจำลองบัคกี้บอล
บัคกี้บอล (Bucky Ball) มีชื่อเต็มๆว่า บัคมินสเตอร์ฟูลเลอรีน (Buckminsterfullerene)
ซึ่งตัวประกอบด้วยคาร์บอน60อะตอม ซึ่งการที่มันประกอบด้วยอะตอมคาร์บอนล้วนๆ
ก็แปลว่ามันเป็นญาติคนหนึ่งกับแกรไฟต์และเพชรนั่นเอง โดยบัคกี้บอลนี้จะมีขนาดอยู่ที่ 1nm (1นาโนเมตร) เท่านั้นเอง


ก่อนจะไปกันต่อแวะไปดูการค้นพบบัคกี้บอลอันแสนน่าสนใจกันก่อนดีกว่า
เหตุการเริ่มต้นเมื่อ ค.ศ.1958 ศ.ดร. ฮาร์โรลด์ โครโต้ (Harold Kroto) นักฟิสิกส์ด้านอวกาศ
แห่งมหาวิทยาลัยซัสเซ็ก (University of Sussex) ประเทศอังกฤษ เกิดอยากรู้โครงสร้างของคาร์บอน
ที่พบรอบดาวยักษ์แดงที่อยู่ห่างจากโลกไป 1พันล้านไปแสงขึ้นมา แต่เพราะห้องทดลองของเขาไม่มีอุปกรณ์
เขาจึงได้ล่อลวง ศ.ดร. ริชาร์ด สมอลลีย์ (Richard Smalley) และ ศ.ดร. โรเบิร์ต เคิร์ล (Robert Curl)
ณ มหาวิทยาลัยไรซ์ (Rice university) สหรัฐอเมริกา ให้มาร่วมทีมด้วย
ทั้งสามจำลองสภาพบรรยากาศของดาวยักษ์ขึ้นมาด้วยการยิงแสงเลเซอร์ความร้อนสูงใส่แท่งแกรไฟต์
ที่อยู่ในบรรยากาศที่เต็มไปด้วยแก๊สฮีเลียม สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ โครงสร้างโมเลกุลคาร์บอนเกือบทั้งหมด
เปลี่ยนรูปร่างเป็นทรงกลมเหมือนลูกฟุตบอลที่ประกอบด้วยคาร์บอน 60 อะตอม 
นักวิทยาศาสตร์ทั้งสามท่านได้ตั้งชื่อรูปทรงกลมนี้ว่า “บัคมินสเตอร์ฟูลเลอรีน” เพื่อให้เกียรติแด่ 
มร. บักมินสเตอร์ ฟูลเลอร์ (Buckminster Fuller) ซึ่งเป็นผู้ออกแบบอาคารและสิ่งก่อสร้างรูปโดมทรงกลม
ที่มีลักษณะคล้ายกับลูกฟุตบอลขนาดใหญ่อันเลื่องชื่อหลายแห่ง
ตัวอย่างอาคารรูปโดมที่ออกแบบโดย มร. บัคมินสเตอร์ ฟูลเลอร์

แล้วทำไมเจ้าลูกบอลคาร์บอนนี่ถึงสำคัญขนาดขึ้นหน้าเว็บ google กันได้ล่ะเนี่ย?
สาเหตุก็คือเมื่อทั้งสามทำการศึกษาก็พบว่าเจ้าบัคกี้บอลนี้เต็มไปด้วยคุณสมบัติแปลกๆมากมาย ไม่ว่าจะเป็น
- การยับยั้งการทำงานของไวรัส
- ยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย
- กำจัดเซลล์มะเร็ง
- ใช้เป็นสารต่อต้านการตายของเซลล์
- ต่อต้านอนุมูลอิสระ
- สร้างตัวนำยิ่งยวด (superconductor)
- เป็นส่วนประกอบของโซล่าเซลล์
- บรรจุอะตอมของธาตุต่างๆ
นอกจากนี้ยังสามารถพบบัคกี้บอลได้ในธรรมชาติอีกด้วย เช่น ในเขม่าของเทียนไขและไส้ตะเกียงน้ำมันก๊าซ
ผลจากการค้นพบครั้งนี้ทำให้นักวิทยาศาสตร์ทั้งสามท่านได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมีในปี ค.ศ. 1996 

ส่วนประกอบและขั้นตอนการทำงานของอุปกรณ์ที่ริชาร์ด สมอลลีย์ ใช้ในการสังเคราะห์และตรวจสอบบัคกี้บอล
อ้าวในเมื่อมันวิเศษขนาดนี้แล้วทำไมเราถึงไม่เคยได้ยินชื่อของมันเลยล่ะ?
นั่นก็เพราะว่าเจ้าบัคกี้บอลนั้นยังอยู่ในระหว่างการศึกษาและยังคงมีความลับอยู่อีกมากมาย
อันตรายอย่างหนึ่งของมันคือสามารถทำลายเยื่อหุ้มเซลล์ของปลาที่เอามาทำการทดลองได้ด้วย!

ดังนั้น ทางออกที่ดีที่สุดในการนำบัคกี้บอลมาใช้ประโยชน์ คือ ต้องทำความเข้าใจคุณสมบัติ ต่างๆ 
ของเจ้าบัคกี้บอลนี้ให้ถ่องแท้เสียก่อน รวมถึงข้อเสียต่างๆของมันด้วย ก่อนที่จะถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลาย

ถ้าใครสนใจสามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่


5 ความคิดเห็น:

  1. ขอบคุณสำหรับความรู้นะจ้ะ

    ตอบลบ
  2. โหๆๆ วิชาการมากมายอะ

    ตอบลบ
  3. ตกลงมันเป็นธาตุตัวใหม่ใช่ไหม ค้นพบเมื่อไรอ่า

    ตอบลบ
  4. คือการเรียงตัวแบบใหม่ของคาร์บอนค่ะ

    ตอบลบ
  5. คือการเรียงตัวแบบใหม่ของคาร์บอนค่ะ

    ตอบลบ