วันจันทร์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2553

การใช้ tag embed แทรกเกมแฟลช แทรกวิดีโอจาก youtube



วิธีการเล่นแสนง่าย จับตาดูที่ลูกบอล รอจนเจ้ามือสลับแก้วเสร็จ คลิกแก้วที่มีลูกบอลอยู่ เล่นเกม "Cup Game" เต็มจอ


วิธีการใส่เปิดช่องสำหรับแก้ไขบทความแบบ html ใส่โค้ด embed


embed ของเกม Cup game

<embed allowscriptaccess="never" height="500" loop="true" play="true" quality="high" src="http://www.waiza.com/mai-games/Puzzle/Cup_Game.swf" type="application/x-shockwave-flash" width="700&quot;"></embed>

embed ของเกม CRASH BANDICOOT

<embed base="http://media.y8.com/games/content/crashbandicoot.swf" height="500" pluginspage="http://www.macromedia.com/go/getflashplayer" quality="high" src="http://media.y8.com/games/content/crashbandicoot.swf" type="application/x-shockwave-flash" width="650"></embed>

embed ของวิดีโอจาก youtube เปิดหน้าวีดิโอ เลื่อนมาลง คลิกที่ปุ่ม <Embed> จะปรากฎโค้ดในกรอบ
ให้ copy ไปวางเหมือน embed เกมทั่วไป




embed ของตกแต่งก็เช่นกัน

<object width="640" height="505"><param name="movie" value="http://www.youtube.com/v/TMCf7SNUb-Q?fs=1&amp;hl=en_US&amp;color1=0x2b405b&amp;color2=0x6b8ab6"></param><param name="allowFullScreen" value="true"></param><param name="allowscriptaccess" value="always"></param><embed src="http://www.youtube.com/v/TMCf7SNUb-Q?fs=1&amp;hl=en_US&amp;color1=0x2b405b&amp;color2=0x6b8ab6" type="application/x-shockwave-flash" allowscriptaccess="always" allowfullscreen="true" width="640" height="505"></embed></object>

วันศุกร์ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ลอกข้อสอบกันไหมเพื่อน

คำถามในวัยเด็ก"ตอนนี้เป็นเช่นนี้ แล้วตอนเรียนมหาวิทยาลัยล่ะ" ได้รับคำตอบ และสร้างคำถามใหม่ "แล้วตอนทำงานล่ะ"
(รวบรวมจาก I. สังเกต แล้วคิดเอาเอง II.ฟังเพื่อนให้เหตุผล III.ทำการทดลองเอง IV.ปรึกษาผู้ผ่านช่วงเวลานี้มาแล้ว)

ลอกการบ้าน ลอกเก็บคะแนนทดสอบย่อย กระทั่งถึงลอกข้อสอบในห้องสอบ !!!
เรื่องปกติสำหรับคนในวงการ แต่ก็พิเศษอย่างคาดไม่ถึง เมื่อได้ลองพบประสบการณ์จริง

ตั้งแต่เมื่อไร
เริ่มสานสัมพันธ์ วางระบบในวัยประถมเป็นสำคัญ เหมือนการเรียนรู้อย่างมนุษย์ทั่วไป เกิดขึ้นอย่างไหลลื่นโดยไม่รู้ตัว
ช่วงแรกเป็นการให้ความช่วยเหลือ ให้ทำการบ้านแทน ฝากส่งงาน

ทำไมจึงเป็นเช่นนี้
เกิดจากการไม่พึ่งพาตนเอง ไม่รับผิดชอบงานตนเอง จึงต้องรีบมาลอกงานในตอนเช้าที่ห้องเรียน
เรียนในห้องไม่เข้าใจ ไม่อ่านหนังสือให้พร้อมสอบ แต่ต้องการคะแนน ผลตอบรับที่ดี
แต่ในบางครั้งเด็กๆ ไม่ได้สนใจในเรื่องนี้เลย มันธรรมดาเหมือนการให้เพื่อนยืมดินสอ และสุดท้ายมันมีองค์ประกอบครบ

องค์ประกอบที่จำเป็น

1. แหล่งลอก ที่ทำข้อสอบได้จากการเตรียมตัวสอบ เรียนเข้าใจ หรือรู้คำตอบจากการลอกอีกต่อนึง
ซึ่งมักเป็นเป็นบุคคลที่ผู้ต้องการลอก คิดว่า ลอกแล้วคะแนนดีขึ้น หรือทางเลือกเดียว 

1.1 ผู้เกรงใจเพื่อน ไม่อยากขัดใจเพื่อน ไม่อยากปฎิเสธเพื่อน ทนคำรบเร้าเพื่อนไม่ไหว กลัวเกรงการถูกทอดทิ้งหรือรังเกียจจากแก๊งลอก 

1.2 ผู้แลกเปลี่ยน เข้าใจว่ากันว่า การลอกมันปกติดี และตนอยากแลกเปลี่ยนคำตอบกับเพื่อน ทั้งให้ลอก และลอกคนอื่นด้วย 

1.3 ผู้ใจกว้าง ผู้สนันสนุนร่วมขบวนการ มีสัมพันธ์อันดีกับผู้ต้องการลอก ต้องการให้เพื่อนได้คะแนนเยอะขึ้น 

1.4 ผู้ไม่สนใจใคร จะลอกก็ได้ ตามสบายเลย จะทำข้อสอบอย่างปกติ ไม่เห็นผู้ต้องการลอกในสายตา หรือแม้แต่ไม่รู้ด้วยซ้ำว่า เพื่อนลอกอยู่ 

1.5 ผู้ไม่ทันระวัง มีระบบป้องกันเพื่อนจะลอก แต่ระบบป้องกันล้มเหลว ข้าศึกมาชิงข้อมูลสำเร็จ

1.6 ผู้ภาคภูมิใจ หรือได้รางวัลจากเพื่อน เป็นแสงแห่งความหวัง เป็นเจ้าเสี่ยใหญ่ที่เพื่อนๆจะพาไปเลี้ยงหลังสอบเสร็จ 

1.7 ผู้สนใจระบบ อยากลองให้ลอก ได้รู้เข้าถึงสังคมวงใน เก็บข้อมูลใครเป็นใครในวงการ หรือนึกสนุก คิดว่าเป็นโอกาสตื่นเต้นอย่างนึงของชีวิต


2. ผู้ต้องการลอก ผู้มองเห็นว่าการลอก คือ ทางสว่างแห่งชีวิต 

2.1 ขาประจำ เมื่อเริ่มทำแล้ว ยังทำอยู่ และยังคงทำการนี้ต่อไป เป็นผู้มีประสิทธิวิชาความสามารถเทคนิคต่างๆจนเชี่ยวชาญ 
มักเตรียมตัว ไม่ใช่อ่านหนังสือ แต่เป็นการลอกนั้นเอง มีการติดต่อแหล่งลอกเป็นที่เรียบร้อยแล้ว 

2.2 ขาเพนจร เป็นครั้งคราว หรือครั้งเดียว เหมือนจำเป็นจริงๆจึงก่อการนี้ ซึ่งปกติถ้าทำข้อสอบไม่ได้จึงใช้วิธีการนี้ 

2.3 ผู้ไม่ได้วางแผนใดๆเลย แต่คำตอบมันแทบลอยมาประเคนตรงหน้่า ยกธงขาวยอมแพ้ต่อสถานการณ์ตรงหน้า ถ้าสบโอกาสเหมาะนัก จึงลงมือ 

2.4 ผู้ไม่มั่นใจในตัวเอง จะทำได้ไม่ได้ ยังไงก็อยากเช็คคำตอบอยู่ดี มักเป็นกรณีสุดขั้ว พวกทำได้เช็คกันพลาดเดี่ยวไม่เต็ม
และพวกที่คิดว่าทำเองผิดตลอด เสียความเป็นตัวเองไปเรียบร้อย 

2.5 ผู้ลองใจเพื่อนลองใจครู ทำเพื่อดูอาการตอบโต้ 

2.6 ผู้สนใจระบบ คล้ายแหล่งลอก แต่คราวนี้มาในฐานะผู้ลอกเสียเอง 

2.7 ผู้คิดว่าอาจารย์อยากให้ลอก เข้าใจว่าโรงเรียนและอาจารย์ปล่อยเต็มที่ มีคะแนนกับเกรดเนี่ยแหละ ของยุติธรรมในโรงเรียน 


3. บรรยากาศที่เอื้ออำนวย ถ้าสถานการณ์มันพาไปก็ดี ถ้าไม่ ก็ต้องสร้างสถานการณ์นั้นขึ้นมา

3.1 ก็มันลอกกันง่ายนิ มองไปเห็นแล้ว ครูคุมแค่ตรงนั้นเองตรงนี้ไม่มาเลย มันอยู่กันใกล้แค่นี้เลยถามมันชิน เหมือนตอนเรียนไง

3.2 วิชานี้ มันไม่ทางออกอื่นแล้ว อ่านให้ตายก็ไม่เข้าหัวเลย ทำไงดีเนี่ย วิชานี้ก็เรียนไปทำไมก็ไม่รู้ด้วย

3.3 อ้าว สอบครั้งนี้ห้ามลอกงั้นเหรอ ครูชี้แจ้งไม่เข้าใจ สงสัยไม่ถามครูถามเพื่อนอยู่แล้วด้วย ตกลงว่าเปิดหนังสือกับถามเพื่อนได้สิน่ะ

3.4 ลอกมันเรื่องปกติ ข้อสอบมันยากเกินเอง อีกอย่างใครๆก็ลอกกัน ลอกน่ะเสร็จเร็ว คำตอบก็ถูกด้วย มันเป็นความสามัคคีของพวกเราด้วย วีรกรรมลอกกระจุยกระจายทั้งห้องอย่างนี้

3.5 เท่านี้ก็สบาย แบบนี้ลอกได้ ปลอดภัย

วิธีการลอก

1. เลือกเป้าหมาย วางแผน นัดแนะกับแหล่งข้อมูล เช่นให้เขียนตัวใหญ่เข้ม เอียงคำตอบไว้ฝั่งใดๆฝั่งหนึ่ง
รอรับกระดาษแล้วส่งต่อกรณีผ่านทาง ใช้สัญญาณนิ้วบอกหมายเลขข้อ ศึกษาข้อมูลการสอบถึงความจำเป็นและโอกาสในการลอก

2. เตรียมอุปกรณ์ที่จำเป็นเผื่อใช้

เศษกระดาษในไส้แท่งปากกา ถอดแท่งด้ามเอาใส่ในออก ยัดกระดาษลงไปแทน ใช้ในการโดยส่งข้าม

โต๊ะระหว่างที่นั่ง หรือกลับจากไปห้องน้ำ

ปากกาหมึกหมดหัวแหลม เขียนใส่กระดาษแล้วส่งข้ามไปให้ผู้ลอก ผู้ลอกนำดินสอดำมาระบายบริเวณที่

เขียน จะเห็นเป็นรอยตัวหนังสือสีขาวพื้นดำ

ยางลบไม้บรรทัด ที่เขียนได้แบบเลือนลาง ไว้กรณีเขียนส่ง แล้วยืมหรือแอบส่งข้ามที่นั่ง

สัญลักษณ์ประจำข้อตัวเลือก ก ข ค ง เช่น ปากกาสี หรือ ด้านของยางลบ

3. หาทำเลที่นั่งที่เหมาะสม บริเวณหลังห้องนอกห้อง มุมอับ ที่ไกลรัศมีผู้คุมที่สุด เมื่อลองทำการแล้ว เป็นบริเวณที่สังเกตได้ยาก
ควรติดกับแหล่งข้อมูล เช่นนั่งด้านขวา อยู่ใกล้แขนขวาที่เขียนกระดาษคำตอบ

4. หาจังหวะลงมือ

ช่วงเริ่มสอบ ให้สังเกตสถานการณ์ และทำข้อสอบไปบ้าง เพื่อไม่ให้ผิดสังเกต

ช่วงครึ่งทางเวลาสอบ ปราการเริ่มเปราะบางมากขึ้น

ช่วงเริ่มส่งได้ และมีผู้ลุกไปส่งเป็นระยะ หรือคราวๆละมาก จะเกิดช่องทาง

อีกกรณีคือ ความร่วมใจ ผลัดกันลอกเป็นคลื่นในห้อง ทำอาการผิดสังเกตเป็นระยะเกือบทั้งห้อง จนผู้คุม
ทำงานไม่ไหว หรือปล่อยไปเลย

เมื่อพบจังหวะ ถ้ามองเห็นเลย อาจแค่หันไปมองเล็กน้อย ถ้าอยู่ในระยะต้องส่งเสียง เช่นเคาะ กระแอม 
บอกเพื่อน

ถ้าอยู่พ้นระยะต้องส่งคำตอบระยะไกล เฝ้ามองเพื่อนอย่างเป็นธรรมชาติ ขณะที่เพื่อนส่งสัญญาณบอกคำตอบ

ช่วงโค้งสุดท้ายจนถึงส่งได้ ปราการแทบพัง ความวุ่นวายถึงขีดสุด โอกาสที่เหมาะสมที่สุด

อุปสรรค (ด้านป้องกันของเหล่าครูอาจารย์)

1. ขู่ด้วยกฎระเบียบ เตือนถึงโทษที่จะได้รับ พูดโน้มน้าวใจให้หวั่งเกรง เช่น เอาผิดทั้งผู้ให้ลอกผู้ลอก กล่าวถึงตัวอย่างที่จับได้

2. เช็คอาวุธ เครื่องมือ ไม่ให้มีโพย เศษกระดาษที่จะจดข้อสอบออก หรือไว้ส่งให้เพื่อน

3. ปฎิบัติการเฝ้าระวัง สืบสวน เดินตรวจตรารอบห้อง สังเกตสิ่งผิดปกติของผู้เข้าสอบ

4. ทำลายบรรยากาศที่เอื้ออำนวย แยกโต๊ะให้ห่างจนมองลำบาก จัดเวรผู้คุมอย่างครอบคลุม สั่งห้ามพูด
คุย ยืมของระหว่างการสอบ

5. สร้างความลำบาก ทำข้อสอบหลายชุด ข้อสอบแบบเติมคำ ห้ามดึงกระดาษข้อสอบออกจากกระดาษ
คำตอบ สลับที่นั่งทุกวิชา สุ่มที่นั่งแล้วล็อกตำแหน่งที่นั่งสอบ

6. เพิ่มหน่วยตรวจสอบ ตรวจละเอียดว่าคำตอบใครใกล้เคียงเหมือนกันหมดต้องสงสัย เรียกสอบใหม่ 

ติดกล้องวงจรปิด ถ่ายวิดีโอขณะที่สอบ
7. ลงมือทำตามกฏให้ดูกันในห้องสอบ เดินกากหัวกระดาษคำตอบผู้ลอกให้เพื่อนๆทั้งห้องดู

8. ให้จัดการกันเอง หักคะแนนเพื่อนรอบข้างของผู้ลอก หรือหักคะแนนทั้งห้อง ให้ไม่มีใครกล้าลอก และกลัวกันเอง

9. ใช้ข้อสอบแบบเปิด ไม่สามารถลอกกันได้ เพราะเป็นบรรยายความคิดของแต่ละคน

ข้อดีของการลอก

1. เพิ่มโอกาสได้คะแนนมากขึ้น พลิกจากการสอบตกเป็นสอบผ่าน บางวิชาที่ไม่ถนัดมากๆจะผ่านพ้นไปได้ วิชาที่ถนัดก็ได้เป็นที่พึ่งเพื่อน

2. เพิ่มสัมพันธ์กับเพื่อน เป็นการทำกิจกรรมร่วมกัน อาจจะผลักกันอ่านคนวิชา หรือวิชาเดียวกันคนละหัวข้อ

3. สะดวก รวดเร็ว ได้เช็คคำตอบไปในตัวอีกด้วย ได้คะแนนไล่เลี่ยกัน มีการติดต่อเสร็จพร้อมกันได้ออกจากห้องสอบไปด้วยกันต่อ

4. ลับคมทักษะหลายๆอย่าง ใจเย็น สายตาไว ตอบโต้ว่องไว การสังเกต วางแผนล่วงหน้า เชื่อใจกัน ความคิดสร้างสรรค์ในวิธีการลอก

ข้อเสียของการลอก

1. เสี่ยงอันตราย แน่นอนเพราะมันผิดกฎระเบียบ
ถ้าล้มเหลวถูกจับได้และเอาผิด สิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นคือ โดนตำหนิ ตักเตือน ย้ายที่นั่ง ผู้คุมสอบมานั่งเฝ้า หักคะแนน เก็บกระดาษข้อสอบทันที
ถูกปรับตกวิชานั้น ถูกไล่ออก(โทษสูงสุดของมหาวิทยาลัย ที่ใช้คำว่า พ้นสภาพนิสิตนั้นเอง)

2. มีโอกาสไม่สำเร็จ ผิดแผนที่วางไว้ เกิดอุปสรรคจนไม่สามารถลอกได้

3. แล้วเมื่อไหร่จะทำเองได้ล่ะ ถึงเวลาต้องใช้ความรู้ทำงาน ตอนนั้นจะทำยังไง

4. แสดงถึงการไม่เตรียมตัว

การลอกนั้น ต้องอาศัยจังหวะ บรรยากาศ แล้วประสบการณ์อีกเล็กน้อย
โอกาสเกิดแทบ100เปอร์เซนต์ เมื่อมันลอกง่ายและข้อสอบนี้มันทำไม่ได้เลย