วันอาทิตย์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2553

ชั่วโมงเรียนของมหาวิทยาลัยที่ยากจะทำได้



พวกเราคงทราบอยู่แล้วว่า ยิ่งเราเติบโต ตารางเรียนก็จะเริ่มเพิ่มขึ้น จากวัยเด็กเข้าโรงเรียนเป็นผู้ใหญ่ที่ไปทำงาน

เด็กอนุบาล แทบไม่เรียน เป็นกิจกรรมเล่น ดื่มนม นอน แม้ตารางเรียนเท่าเด็กประถม
เข้าสู่เด็กประถม ไปรร.กันตั้งแต่ 8.00-15.00 น.การนอนกลางกลางวันก็หายไป
เริ่มเรียนหนักเป็นเรื่องเป็นราว ชั่วโมงอิสระ-ออกกำลังมาก เกรดเริ่มออกผลสู่ผู้ปกครอง

ระดับมัธยม เริ่มมีการแข่งขัน เรียนอย่างจริงจัง ไปกวดวิชา สร้างเป้าหมายในอนาคต สนใจออกหาประสบการณ์
ตารางเรียนเริ่มแน่นขนัด ถ้าไม่เรียนนอกตาราง เวลาเรียนจะเป็น 8.00-16.00 น.

และเมื่อเข้าสู่มหาวิทยาลัย ขณะที่บางส่วนแยกไปทำงานเลย
นักศึกษาต้องเริ่มศึกษากันในสาขาระดับสูง เรียนเฉพาะทาง สามารถลงทะเบียนเรียนจัดการเวลาอย่างอิสระเต็มที่




แผ่นด้านบนเป็นตัวอย่างตารางเรียนของนิสิตมหาวิทยาลัย คณะวิศวกรรมาสตร์ ปีที่หนึ่ง เทอมหนึ่ง
ภาคปกติเรียนวันจันทร์-ศุกร์ ในส่วนของรายละเอียดวิชาด้านล่างถัดลงมา
แต่ละวิชาแสดงหน่วยกิต ซึ่งเทอมนี้ วิชาละ 3 หน่วยกิตทุกวิชา

"หน่วยกิต 1(2-3-4)"
ตำแหน่งเลข 1 หมายถึง จำนวนหน่วยกิตของวิชานี้ (บอกความสำคัญของวิชา)
ตำแหน่งเลข 2 หมายถึง จำนวนชั่วโมงที่ต้องเรียนบรรยายต่อสัปดาห์ (ชั่วโมงนั่งฟัง นั่งจดเลคเชอร์)
ตำแหน่งเลข 3 หมายถึง จำนวนชั่วโมงที่ต้องเรียนปฎิบัติการบรรยายต่อสัปดาห์ (ลุยงาน จับเครื่อง งานโปรเจก)
ตำแหน่งเลข 4 หมายถึง จำนวนชั่วโมงที่ต้องเรียนที่ต้องศึกษาเอง (อ่านเอง นอกตาราง จัดการเอาเอง)

เช่น รหัส 310101 วิชาเรียนเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ 3(2-2-5)
3 หน่วยกิต เรียนบรรยาย 2 ชั่วโมง เรียนปฎิบัติการ 2 ชั่วโมง ศึกษาเอง 5 ชั่วโมง

ต่อไปมาคำนวณชั่วโมงเรียนในมหาวิทยาลัย
จำนวนชั่วโมงทั้งหมดที่ต้องใช้เรียนใน 1 สัปดาห์ทั้งหมด นั้นคือรวมจำนวนชั่วโมงศึกษาเองด้วย
= [ (2+2+5)*1 ] + [ (3+6)*6] = 63 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
(นอกจากหน่วยกิตเท่ากันหมด แต่ละวิชายังใช้เวลาเรียนต่อสัปดาห์เท่ากันอีกด้วย)

ดูรวมๆแล้ว บรรยากาศจากนิสิตที่กำลังมองอยู่ เห็นว่านิสิตส่วนใหญ่ใช้เวลาเรียนเฉพาะในคาบเท่านั้น
คือ เรียนชั่วโมงที่อาจารย์มาควบคุมเท่านั้น ส่วนชั่วโมงที่อ่านเอง มีเพียงนิสิตจำนวนเล็กน้อยสามารถทำสำเร็จ

พอได้ลองเขียนตารางเรียนที่เพิ่มชั่วโมงอ่านเองไปด้วยแล้ว ตารางแน่นขนัด ขนาดที่แทบทำไม่ได้
ดูเหมือนการเรียนในมหาวิทยาลัยให้ได้ดีนั้นทำได้ยากลำบาก ต้องอาศัยความขยันมาก

วันจันทร์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2553

เด็กไทย ส่วนใหญ่ เกรดดี แต่ไร้ความรู้ พอเข้ามหาลัย ไปไม่รอด คุณคิดแบบผมหรือไม่ว่าใครเป็นต้นเหตุ??

เนื่องจากบล็อกนี่เป็นเพียงความคิดเห็นเท่านั้น ซึ่งความคิดของผมอาจจะไม่ตรงกับความคิดของคนอื่นหลายๆ คน ก็ต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย

ตามความคิดของผม ผมว่าการศึกษาไทย ช่วยเหลือเด็กไทยในทางที่

ผิดอย่างมาก เพราะเด็กก่อนอุดมศึกษา มีการใช้คะแนนเก็บที่สูงเกิน

ไป สำหรับผม ผมว่ามากไปด้วยซ้ำ เด็กจึงไม่ใส่ใจกับการเก็บเกี่ยว

ความรู้เท่าที่ควร แต่มุ่งเน้นไปที่การทำคะแนนเก็บให้เยอะๆ บางครั้ง

เด็กบางคนถึงขั้นประจบประแจง อ.เพื่อให้มาได้ซึ่งคะแนน ซึ่งผมเอง

รับไม่ค่อยได้ พอถึงเวลาสอบกลางภาคหรือปลายภาค คะแนนสอบ

แปลผกผันกับคะแนนเก็บอย่างมาก เมื่อคะแนนออกมาไม่ถึงครึ่งก็มี

การสอบซ้อม ผลสรุปแล้วต่อให้ไม่รู้อะไรก็ได้คะแนนสอบตั้ง 50%

แล้ว ตัดเกรดออกมาได้เกรดที่ค่อนข้างสูงพอควร แล้วก็มาดีใจกันว่า


เราเรียนเก่ง ผู้ปกครองก็คิดไปด้วยว่าลูกเราเก่ง ผมยังเชื่อว่าบางครั้งเด็กเกรด น้อยๆ บางคนยังเก่งกว่าเด็กเกรดสูงๆ เลยด้วยซ้ำ

ไป พอถึงช่วงเข้ามหาลัย พอตัวเกรดสูงก็ใช้สิทธิโคต้าในการเข้ามหาลัย พอเรียนมหาลัยแล้วมันไม่ใช่อย่างแต่ก่อน คะแนนสอบ

เท่านั้นที่ใช้ในการตัดเกรด(อาจมีคะแนนเก็บเล็กน้อย) เมื่อตนเองไม่ได้ใส่ใจในการเก็บเกี่ยวความรู้ในระดับก่อนอุดมศึกษา แล้วจะ

เอาความรู้พื้นฐานที่ไหนมาต่อยอดในการเรียนมหาลัยละครับ ผลสรุปแล้วก็เรียนไม่รู้เรื่อง ทำข้อสอบไม่ได้ แล้วก็โดนรีไทม์ตาม

ลำดับ ผมถามว่ามันเป็นความผิดที่ใครเหรอครับเมื่อโครงสร้างการศึกษาว่างมาให้เด็ก ต้องปฏิบัติตัวแบบนี้

วันพุธที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2553

"The Fallacy" ตรรกะ หายนะ ความคิด

ถ้าพูดถึงคำว่า Fallacy หลายๆคนคงสงสัยว่ามันคืออะไร? ไม่เห็นจะเคยได้ยิน?
แต่ถ้าพูดว่า Logic หรือ ตรรกะ ล่ะก็ทุกคนคงจะคุ้นหูขึ้นมาบ้าง

Logic หรือ ตรรกะ นั้นคือกระบวนการคิดและใช้เหตุผลซึ่งเรามักพบในชีวิตประจำวันอยู่แล้ว
โดยตรรกะของแต่ละคนนั้นจะแตกต่างกันไป ซึ่งมักจะแสดงออกมาเมื่อเจอเหตุการณ์ต่างๆ
เช่น เมื่อเจอฝนตกขณะเดินอยู่บางคนอาจรีบวิ่งไปยังที่หมาย แต่บางคนอาจหาที่หลบฝนรอฝนหยุดก่อน
ซึ่งนี่ก็แสดงให้เห็นถึงกระบวนการคิด และตรรกะที่แตกต่างกัน




แล้ว Fallacy ล่ะ?
เรารู้แล้วว่าแต่ละคนนั้นมีการคิดและใช้เหตุผลต่างกันออกไป
ทำให้บางทีนั้นเราอาจพบความคิดเพี้ยนๆ หรือการให้เหตุผลที่ไม่สมเหตุสมผลอยู่บ้าง
ซึงเราเรียกตรรกะที่ผิดพลาดนั้นว่า ตรรกะวิบัติ หรือ Fallacy นั่นเอง

ตรรกะวิบัตินั้นมักถูกนำมาใช้ในการหลอกลวง ด้วยการใช้คำพูดที่ดูเหมือนสมเหตุสมผล
แต่ไม่เป็นความจริงเลย หากใครไม่คิดตามให้ดีก็จะหลงเชื่อได้โดยง่าย



เอาล่ะในเมื่อเราทำความรู้จักกับตรรกะวิบัติกันแล้ว
ก็มาดูตัวอย่างตรรกะวิบัติกันต่อดีกว่า

- การละทิ้งข้อยกเว้น คือ การสรุปโดยไม่สนใจข้อยกเว้น
เช่น การฆ่าสิ่งมีชีวิตเป็นสิ่งที่ผิด เพราะฉะนั้นการกินยาไปฆ่าเชื้อโรคก็เป็นสิ่งที่ผิดด้วย

- การเหมารวม คือ การสรุปโดยยกตัวอย่างหนึ่งขึ้นมาแล้วเหมารวมว่าทุกอย่างต้องเป็นไปตามนั้น
เช่น นกทุกตัวบินได้ เพนกวินเป็นนก เพราะฉะนั้นเพนกวินบินได้

การเอาคำถามเป็นคำตอบ คือ การที่เอาคำถามที่ถูกถามมาเป็นคำตอบเสียเอง
เช่น A:"ทำไมคุณถึงเรียนเก่ง" B:"เพราะผมเก่ง"

การสรุปผลโดยใช้เพียงเหตุเดียว คือ การสรุปเอาเองว่า ถ้าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นต้องเกิดจากสาเหตุA เท่านั้น ทั้งที่ความจริงอาจเกิดจากสาเหตุ B, C, D ก็ได้
เช่น เด็กคนหนึ่งฟังเพลงแล้วฆ่าตัวตาย เพราะฉะนั้นการฟังเพลงเป็นสาเหตุของการฆ่าตัวตาย

การบังคับเลือก คือ การสรุปโดยจำกัดทางเลือกที่เหมาะสม
เช่น ถ้าคุณไม่ใช่เสื้อแดง ก็ต้องเป็นเสื้อเหลือง

การสรุปเอาเอง คือ การสรุปโดยใช้เหตุและผลที่ไม่เกี่ยวข้องกันเลย
เช่น เขาเป็นคนดูดี เพราะงั้นเขาต้องเก่งมากแน่ๆ

การสรุปเกินจริง คือ การเอาสาเหตุเล็กน้อย มาสรุปว่าต้องเกิดผลที่ร้ายแรง
เช่น คุณเหยีบมดตายโดยไม่รู้สึกเสียใจอะไรเลย แปลว่าคุณคงฆ่าคนได้โดยไม่รู้สึกอะไรเลยเช่นกัน

การเปรียบเทียบไม่เหมาะสม คือ การนำสิ่งที่คล้ายกันมาเปรียบเทียบกันไปเรื่อยๆจนได้สรุปที่เกินจริง
เช่น ดาบกับระเบิดใช้ฆ่าคนได้เหมือนกัน แสดงว่าดาบเป็นอาวุธร้ายแรงเหมือนระเบิด

คิดว่าไงกันบ้างกับตรรกะวิบัติแบบต่างๆ
บางข้อนั้นอาจจะดูเหมือนแปลกๆ แต่คราวหน้าถ้าได้คุยกับเพื่อนๆ
ลองสังเกตุดูหน่อยแล้วกันว่ามีใครใช้ตรรกะแบบนี้กันบ้างรึเปล่า
ไม่แน่อาจพบว่าเรากับตรรกะวิบัตินั้นอยู่ใกล้กันเกิดคาดก็ได้นะ

วันเสาร์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2553

Google วันนี้ "Bucky ball"











วันนี้ถ้าใครเข้า google คงสังเกตเห็นสิ่งผิดปกติกัน 
นั่นคือลูกบอลปริศนาที่หมุนไปมาตามเมาส์เราอย่างเมามัน
ถ้าใครซนอีกหน่อย เอาเมาส์ไปชี้ก็จะเห็นข้อความ "ครบรอบ25ปีของบัคกี้บอล"ขึ้นมา
แล้วเจ้า "บัคกี้บอล" มันคืออะไรกันนะ ตามไปดูกันดีกว่า
แบบจำลองบัคกี้บอล
บัคกี้บอล (Bucky Ball) มีชื่อเต็มๆว่า บัคมินสเตอร์ฟูลเลอรีน (Buckminsterfullerene)
ซึ่งตัวประกอบด้วยคาร์บอน60อะตอม ซึ่งการที่มันประกอบด้วยอะตอมคาร์บอนล้วนๆ
ก็แปลว่ามันเป็นญาติคนหนึ่งกับแกรไฟต์และเพชรนั่นเอง โดยบัคกี้บอลนี้จะมีขนาดอยู่ที่ 1nm (1นาโนเมตร) เท่านั้นเอง


ก่อนจะไปกันต่อแวะไปดูการค้นพบบัคกี้บอลอันแสนน่าสนใจกันก่อนดีกว่า
เหตุการเริ่มต้นเมื่อ ค.ศ.1958 ศ.ดร. ฮาร์โรลด์ โครโต้ (Harold Kroto) นักฟิสิกส์ด้านอวกาศ
แห่งมหาวิทยาลัยซัสเซ็ก (University of Sussex) ประเทศอังกฤษ เกิดอยากรู้โครงสร้างของคาร์บอน
ที่พบรอบดาวยักษ์แดงที่อยู่ห่างจากโลกไป 1พันล้านไปแสงขึ้นมา แต่เพราะห้องทดลองของเขาไม่มีอุปกรณ์
เขาจึงได้ล่อลวง ศ.ดร. ริชาร์ด สมอลลีย์ (Richard Smalley) และ ศ.ดร. โรเบิร์ต เคิร์ล (Robert Curl)
ณ มหาวิทยาลัยไรซ์ (Rice university) สหรัฐอเมริกา ให้มาร่วมทีมด้วย
ทั้งสามจำลองสภาพบรรยากาศของดาวยักษ์ขึ้นมาด้วยการยิงแสงเลเซอร์ความร้อนสูงใส่แท่งแกรไฟต์
ที่อยู่ในบรรยากาศที่เต็มไปด้วยแก๊สฮีเลียม สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ โครงสร้างโมเลกุลคาร์บอนเกือบทั้งหมด
เปลี่ยนรูปร่างเป็นทรงกลมเหมือนลูกฟุตบอลที่ประกอบด้วยคาร์บอน 60 อะตอม 
นักวิทยาศาสตร์ทั้งสามท่านได้ตั้งชื่อรูปทรงกลมนี้ว่า “บัคมินสเตอร์ฟูลเลอรีน” เพื่อให้เกียรติแด่ 
มร. บักมินสเตอร์ ฟูลเลอร์ (Buckminster Fuller) ซึ่งเป็นผู้ออกแบบอาคารและสิ่งก่อสร้างรูปโดมทรงกลม
ที่มีลักษณะคล้ายกับลูกฟุตบอลขนาดใหญ่อันเลื่องชื่อหลายแห่ง
ตัวอย่างอาคารรูปโดมที่ออกแบบโดย มร. บัคมินสเตอร์ ฟูลเลอร์

แล้วทำไมเจ้าลูกบอลคาร์บอนนี่ถึงสำคัญขนาดขึ้นหน้าเว็บ google กันได้ล่ะเนี่ย?
สาเหตุก็คือเมื่อทั้งสามทำการศึกษาก็พบว่าเจ้าบัคกี้บอลนี้เต็มไปด้วยคุณสมบัติแปลกๆมากมาย ไม่ว่าจะเป็น
- การยับยั้งการทำงานของไวรัส
- ยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย
- กำจัดเซลล์มะเร็ง
- ใช้เป็นสารต่อต้านการตายของเซลล์
- ต่อต้านอนุมูลอิสระ
- สร้างตัวนำยิ่งยวด (superconductor)
- เป็นส่วนประกอบของโซล่าเซลล์
- บรรจุอะตอมของธาตุต่างๆ
นอกจากนี้ยังสามารถพบบัคกี้บอลได้ในธรรมชาติอีกด้วย เช่น ในเขม่าของเทียนไขและไส้ตะเกียงน้ำมันก๊าซ
ผลจากการค้นพบครั้งนี้ทำให้นักวิทยาศาสตร์ทั้งสามท่านได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมีในปี ค.ศ. 1996 

ส่วนประกอบและขั้นตอนการทำงานของอุปกรณ์ที่ริชาร์ด สมอลลีย์ ใช้ในการสังเคราะห์และตรวจสอบบัคกี้บอล
อ้าวในเมื่อมันวิเศษขนาดนี้แล้วทำไมเราถึงไม่เคยได้ยินชื่อของมันเลยล่ะ?
นั่นก็เพราะว่าเจ้าบัคกี้บอลนั้นยังอยู่ในระหว่างการศึกษาและยังคงมีความลับอยู่อีกมากมาย
อันตรายอย่างหนึ่งของมันคือสามารถทำลายเยื่อหุ้มเซลล์ของปลาที่เอามาทำการทดลองได้ด้วย!

ดังนั้น ทางออกที่ดีที่สุดในการนำบัคกี้บอลมาใช้ประโยชน์ คือ ต้องทำความเข้าใจคุณสมบัติ ต่างๆ 
ของเจ้าบัคกี้บอลนี้ให้ถ่องแท้เสียก่อน รวมถึงข้อเสียต่างๆของมันด้วย ก่อนที่จะถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลาย

ถ้าใครสนใจสามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่


วันพฤหัสบดีที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2553

ปริศนาแห่ง สี



เรื่องของ สี จะมีอะไรให้สงสัยได้

เรารู้จัก สี กันดีอยู่แล้วทั้งสีขาว ดำ แดง น้ำเงิน ฟ้า มีสีมากมายที่เรารู้จัก 
นับเป็นสัญลักษณ์ที่เรียบง่าย โดดเด่น และจำแนกได้ง่ายสำหรับผู้คนทั่วไป 
แต่ผู้ตาบอดสี จะเห็นโลกที่แตกต่างไปจากเรา (ขอกล่าวเฉพาะผู้ตาบอดสีแล้วกัน)
เนื่องด้วย พวกเขามีเซลล์รับแสงบกพร่องหรือไม่สมดุล เมื่อเทียบกับคนทั่วไป
จึงเห็นสีสันของภาพต่างๆ ในอีกมุมมองหนึ่ง



เซลล์สีในตาคนเราทั่วไปจะมีเซลล์กรวย อยู่ 3 ชนิด
คือ ชนิดรับสีแดง ชนิดรับสีน้ำเงิน และชนิดรับสีเขียว




น่าสงสัยมาก เพราะ วิชาศิลปะสอนว่าแม่สี 3 สีคือ แดงน้ำเงินและเหลือง
และสีเขียวเกิดจาก แม่สีเหลืองผสมกับแม่สีน้ำเงิน





 ซึ่งแม่สีผสมภาพเหล่านี้ กลับไม่ตรงกันกับแม่สีในตาของเรา
เครื่องพิมพ์ใช้หลัก RGB หรือก็คือใช้หลักแม่สีเหมือนแม่สีตาของคน
แต่แน่นอน คนเราเห็นสีมากกว่า 3 สีที่ว่ามานั้น แต่สีที่เรามองเห็นนั้นเกิดจากแม่สีของตาคนรับสีมามากกว่า 1สี
จึงมองเห็นวัตถุมีสีอื่นๆนั้นเอง  -- 10ล้านสี คือผลสรุปจำนวนสีที่ค้นพบว่าคนเราสามารถมองเห็นได้




ด้วยธรรมชาติที่หลาาากหลาย และการสำรวจที่ก้าวหน้า เราจึงรู้ด้วยด้วยว่าสัตว์เห็นโลกด้วยสีอะไรบ้าง เช่น

หมึก สัตว์ทะเลที่เรากินมันอยู่บ่อยๆ ถ้าเรามีโอกาศมองเห็นโลกจากตาของมันแล้วล่ะก็ เราจะต้องตกตะลึง
เพราะ หมึกเห็นแต่สีขาวดำเท่านั้น  ลองคิดถึงสภาพของมันคง ล่องลอยในทะเลกว้างสีขาว
เมื่อมีผู้บุกรุกหรือรู้สึกถึงอันตราย มันจะฉีดหมึกสีดำสนิทใส่ *-* บริเวณนั้นจะเห็นเป็นแอ่งสีเทาๆ

แต่เว้นเรื่องหมึกกันก่อน สัตว์เลี้ยงประจำบ้านนอย่างแมวก็น่าสนใจ ด้วยเหล่าแมวที่จับหนูเปื้อนเลือดแดงสดมาอวดเจ้าของ 
ในสายตามันขาดการเห็นแม่สีหลัก 1 สีที่ไม่เหมือนคน คือสีแดง งั้นเจ้าแมวก็เห็นหนูตัวออกสีน้ำเงินๆ และเลือดหนูสีเขียวๆ



ด้วยความสามารถที่แยกสีและเห็นสีที่ไม่เท่ากัน จะเห็นโลกต่างจากกันไปคนละมุม
ถ้าอย่างงั้นแล้ว คนที่มีเซลล์สีมาก จะเห็นความแตกต่างของภาพได้ดี เหมือนคนชิมรสไวน์ที่แยกรสได้ละเอียดไหม
ถ้าใช่ ศิลปินจิตรกร ก็ต้องมีเซลล์สีผิดไปจากชาวบ้านมากๆเลยสิ บางทีสิ่งนี้อาจอธิบายได้




ส่วนสัตว์หลายชนิดอย่างลิง นก ต่างๆนั้นมีความสามารถเห็นสีได้สดใสเทียบเคียงกับมนุษย์
ดูเหมือนว่าประโยชน์เรื่องสี ช่วยให้เราพบความไม่สมดุลของเซลล์สีได้ เช่น ภาพทดสอบการตาบอดสี
แต่ดูเหมือนการตาบอดสี ก็อาจจำเป็นในลดโอกาศในอาชีพได้เช่นกัน งานด้านแฟชั่น ศิลปกรรม 
อุตสาหกรรม หรืองานที่ต้องใช้ความรอบคอบในการตัดสินใจเช่น ผู้ควบคุมจราจรลานบิน/ถนน
ได้เพิ่มลงในการรับสมัครงาน หรือแม้แต่สถานศึกษาวิชาชีพนั้น

ถึงความจำเป็นที่บุคคลนั้นต้องไม่เป็นโรคตาบอดสีขั้นรุนแรงหรือไม่ตาบอดสีเลย
โรคตาบอดสีคาดว่าเกี่ยวข้องกับโครโมโซเพศชาย เป็นโรคทางพันธุกรรม

ที่เพศชายมีโอกาสเกิดได้บ่อยกว่าเพศหญิง (อาการผมร่วง ผมล้านก็เช่นเดียวกัน)





มาลงท้ายกันที่มองเห็นสีได้อย่างไรกันยาวๆ
เริ่มเลยคือ แสงสีต่างๆ สะท้อนเข้าสู่ตา เซลล์กรวยรับแสงนั้น จึงเห็นเป็นภาพที่ประกอบกับเป็นสีๆ
เพราะงั้นวัตถุใดสะท้อนแสงสีใดใส่เรา จึงเห็นวัตถุนั้นสีอย่างนั้นเอง
ถ้าไม่มีแสงเลย อย่าง ห้องมืดสนิท เราก็จะไม่เห็นอะไรเลยเลย เพราะไม่มีแสงใดสะท้อนเข้าตาเรา
มะเขือเทศแดงสดที่เราเห็น รับแสงทุกแสงที่ส่องมาที่มัน แต่สะท้อน/ไม่รับแสงสีแดง เราจีงเห็นสีแดง

ดูมันผิดสามัญสานึกดีไหม
วัตถุสีขาว เสื้อขาว สะท้อนมันทุกแสง
วัตถุสีดำ รับหมด ไม่มีการสะท้อนแสงเลย เราจึงเห็นเป็นสีดำ

ใครที่ชอบของสิ่งนั้นเพราะสีสวย แสดงว่า ชอบวัตถุที่สะท้อน/ไม่รับ สีนั้น น่ะสิ