วันจันทร์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2553

เด็กไทย ส่วนใหญ่ เกรดดี แต่ไร้ความรู้ พอเข้ามหาลัย ไปไม่รอด คุณคิดแบบผมหรือไม่ว่าใครเป็นต้นเหตุ??

เนื่องจากบล็อกนี่เป็นเพียงความคิดเห็นเท่านั้น ซึ่งความคิดของผมอาจจะไม่ตรงกับความคิดของคนอื่นหลายๆ คน ก็ต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย

ตามความคิดของผม ผมว่าการศึกษาไทย ช่วยเหลือเด็กไทยในทางที่

ผิดอย่างมาก เพราะเด็กก่อนอุดมศึกษา มีการใช้คะแนนเก็บที่สูงเกิน

ไป สำหรับผม ผมว่ามากไปด้วยซ้ำ เด็กจึงไม่ใส่ใจกับการเก็บเกี่ยว

ความรู้เท่าที่ควร แต่มุ่งเน้นไปที่การทำคะแนนเก็บให้เยอะๆ บางครั้ง

เด็กบางคนถึงขั้นประจบประแจง อ.เพื่อให้มาได้ซึ่งคะแนน ซึ่งผมเอง

รับไม่ค่อยได้ พอถึงเวลาสอบกลางภาคหรือปลายภาค คะแนนสอบ

แปลผกผันกับคะแนนเก็บอย่างมาก เมื่อคะแนนออกมาไม่ถึงครึ่งก็มี

การสอบซ้อม ผลสรุปแล้วต่อให้ไม่รู้อะไรก็ได้คะแนนสอบตั้ง 50%

แล้ว ตัดเกรดออกมาได้เกรดที่ค่อนข้างสูงพอควร แล้วก็มาดีใจกันว่า


เราเรียนเก่ง ผู้ปกครองก็คิดไปด้วยว่าลูกเราเก่ง ผมยังเชื่อว่าบางครั้งเด็กเกรด น้อยๆ บางคนยังเก่งกว่าเด็กเกรดสูงๆ เลยด้วยซ้ำ

ไป พอถึงช่วงเข้ามหาลัย พอตัวเกรดสูงก็ใช้สิทธิโคต้าในการเข้ามหาลัย พอเรียนมหาลัยแล้วมันไม่ใช่อย่างแต่ก่อน คะแนนสอบ

เท่านั้นที่ใช้ในการตัดเกรด(อาจมีคะแนนเก็บเล็กน้อย) เมื่อตนเองไม่ได้ใส่ใจในการเก็บเกี่ยวความรู้ในระดับก่อนอุดมศึกษา แล้วจะ

เอาความรู้พื้นฐานที่ไหนมาต่อยอดในการเรียนมหาลัยละครับ ผลสรุปแล้วก็เรียนไม่รู้เรื่อง ทำข้อสอบไม่ได้ แล้วก็โดนรีไทม์ตาม

ลำดับ ผมถามว่ามันเป็นความผิดที่ใครเหรอครับเมื่อโครงสร้างการศึกษาว่างมาให้เด็ก ต้องปฏิบัติตัวแบบนี้

8 ความคิดเห็น:

  1. คิดว่าปัญหาเกิดจากเด็กเป็นส่วนใหญ่
    ถึงการศึกษาในปัจจุบันจะทำให้ง่ายในการจบ แต่เด็กก็ควรรู้ตัวด้วยว่า
    ตัวเองนั้นเรียนรู้เรื่องรึเปล่า มีความรู้ในระดับไหน
    ถ้าคุณไม่มีความรู้ เรียนก็ไม่รู้เรื่อง จบมาได้เพราะคะแนนเก็บกับการสอบซ่อม
    พอเจอบทเรียนที่ยากขึ้นแทนที่จะพยายามศึกษากลับหันไปโทษระบบการศึกษาแทน แบบนี้ใครก็ช่วยอะไรไม่หรอก

    แล้วถ้าไม่แก้ที่เด็กแล้วพยายามแก้ระบบการศึกษาแทนล่ะ?
    คิดว่าแบบนั้นน่าจะเกิดปัญหาตามมามากกว่าอีกนะ เพราะมันเสียไปแล้วทั้งระบบ
    เรียนยากขึ้นเด็กโวย พอเรียนไม่จบผู้ปกครองโวย เด็กไม่มีคุณภาพก็มีคนโวย
    เพราะเป็นแบบนี้เลยคิดว่าเริ่มให้เด็กฝึกพัฒนาตัวเองจะง่ายกว่าปรับปรุงระบบการศึกษานะ

    ตอบลบ
  2. ไม่ระบุชื่อ20 ก.ย. 2553 22:11:00

    อาจจะจริงอย่างที่คนเขียนบอกแต่ก็ต้องยอมรับว่าการศึกษาในปัจจุบันมีการแข่งขันกันสูงมากซึ่งการประจบอ.เพื่อให้ได้มาซึ่งคะแนนนั้นอาจจะดูเป้นเรื่องปกติเสียด้วยว้ำใครเร็วกว่า ใครดีกว่าก็ได้ไปก่อนจึงไม่แปลกที่จะมีคนคิดที่จะเสแสร้งนิดๆหน่อยๆเพื่อที่จะเอาคะแนนไปแข่งกับคนอื่น อีกอย่างที่เป้นตัวขับเคลื่อนความทะเยอทะยานคือการที่คนเราเข้ามอดังๆได้ถือเป็นหน้าเป้นตาให้กับวงตระกุลได้แล้งแบบนี้จะโทษใครได้???

    ตอบลบ
  3. การฝึกที่ตัวเด็กผมยอมรับเลยครับว่าเป็นการแก้ปัญหาเริ่มจากต้นเหตุที่สุด แต่การเปลี่ยนเรื่องของจิตใจของเด็กที่ไม่อยากเรียนค่อยข้างยากมากเลยครับ เพราะเด็กมีอคติมาแล้ว แล้วยิ่งระบบการศึกษาเป็นแบบนี้ด้วยเด็กที่ไม่อยากเรียนมันก็ไม่เรียนเลย เพราะรู้ว่ายังไงเค้าก็ไม่ตกซ้ำชั้น ที่เมนต์กล่าวมาข้างตนจุดประสงค์ของผมอยากให้เด็กมีการกระตุ้นตัวเองเพิ่มขึ้นและตลอดเวลา
    ส่วนเรื่องผู้ปกครองโวย ผมว่าก็คงเป็นส่วนน้อยเพราะว่า ตามเมนต์ที่กล่าวมาด้านบนนั้น เนื้อหาการเรียนไม่ได้กล่าวถึงจึงไม่มีการเปลี่ยนแปลงแต่อย่างใด แต่เปลี่ยนรูปแบบระบบการให้คะแนนเท่านั้น ซึ่งเนื้อหาที่ผมเรียนมาตอนมัธยมผมว่ามันไม่ยากเกินไปนะที่จะทำข้อสอบกันไม่ได้ (หรือทุกคนที่เรียนผ่านมาแล้วคิดว่าเนื้อหามันยากจนเกิดไปหรือไม่?)

    ตอบลบ
  4. ไม่ระบุชื่อ20 ก.ย. 2553 22:24:00

    ก้อจิงอ่าคร่า คะแนน มอปลายสูง พอมาอยู่มหาลัยกลับ ไม่รู้เรื่องอะไรเลย

    ตอบลบ
  5. ไม่ระบุชื่อ20 ก.ย. 2553 22:37:00

    ต้องเข้าใจด้วยว่าหัวสมองและความคิดของคนเรานั้นไม่เท่ากันถ้าเท่ากันคงไม่ต้องมีการแข่งขันแล้ว อีกอย่างเรื่องระบบการให้คะแนนนั้นเพราะระดับการศึกษาและการรับความรู้ของแต่ละคนไม่เท่ากันลองคิดถึงว่าถ้าเราเป็นครูที่สอนเราจะอยากให้ลูกสิษย์อยู่กับเราหรือเห้นเขาเลื่อนชั้นขึ้นไปในที่ๆสูงกว่าเพื่อที่จะได้เรียนรู้ด้วยตัวเองว่าอย่างไหนที่เรียกว่าความคุ้มค่าในการพยายามตัววัดนั้นไม่ได้อยู่ที่ระดับมอปลายแต่มันอยู่ที่มหาลัย ดังนั้นแล้วการกระทำทั้งหมดในอดีตเลยส่งผลในปัจจุบันเป้นเหตุให้เด็กบางคนต้องไทร์เพราะเรียนไม่ไหวทั้งๆที่ได้เกรดดีในตอนมอปลาย

    ตอบลบ
  6. ไม่ระบุชื่อ20 ก.ย. 2553 22:55:00

    เราว่าเกิดตัวเด็กเองที่ไม่ใส่ใจ "เรียนๆไปเดี๋ยวก็จบ" คำนี้ได้ยินบ่อยมาก
    ถ้าตัวเด็กสนใจการเรียนรู้มากกว่านี้คงไม่มีปัญหาให้ปวดหัวหรอก
    อีกส่วนก็เป็นที่ระบบด้วย ที่สอนให้เด็กมีความหวังกับคะแนน มากกว่าความรู้จากบทเรียน ถ้าให้แก้ก็คงไม่ไหวแล้วหละ ในเมื่อทั้งประเทศมันก็เป็นแบบนี้กันหมด ยังไงสุดท้ายก็ตั้งอยู่ที่ตัวของเด็ก ว่าจะฝึกตัวเองรึเปล่า ใส่ใตัวเองแค่ไหน... สำหรับที่อ่านมาก็รู้สึกว่ามันก็มีส่วนให้เราย้อนคิดถึงตัวเราเอง การเรียนมหาลัยที่เราบ่นกันว่าเรียนไม่รู้เรื่อง ยากบ้าง ทำข้อสอบไ่ม่ได้บ้าง อาจเกิดจากตัวเราเองที่ไม่รู้จักขวนขวายหาความรู้ แล้วอย่างนี้จะเอาอะไรไปสอบหละครับ

    ตอบลบ
  7. โอโห บทความนี้ ควาทคิดเห็นของทุกคนเป็นเรื่องเป็นราว ทั้งมาจากหลากหลายมุมมอง ยอดเยี่ยมไปเลย !!

    การที่ ระบบการให้เกรดของมหาวิทยาลัยแตกต่างจากม.ปลาย ก็ทำให้นิสิตได้ปรับตัว เปลี่ยนบรรยากาศดีไปอีกแบบ

    ความผิดมันกว้าง ตอนนี้คงต้องปรับตัวตามระบบไปก่อน แล้วถ้ามีโอกาสคงจะช่วยเสนอปรับปรุงระบบการศึกษาต่อไป -0-

    ตอบลบ
  8. พวกเราก็ต้องปรับตัวไปตามความจริงที่ปรากฎอยู่ต่ิิอหน้าก่อนเพื่อความอยู่รอดของตนเอง ตามที่ host ได้กล่าวมาข้างนะครับ

    ตอบลบ