วันพุธที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2553

"The Fallacy" ตรรกะ หายนะ ความคิด

ถ้าพูดถึงคำว่า Fallacy หลายๆคนคงสงสัยว่ามันคืออะไร? ไม่เห็นจะเคยได้ยิน?
แต่ถ้าพูดว่า Logic หรือ ตรรกะ ล่ะก็ทุกคนคงจะคุ้นหูขึ้นมาบ้าง

Logic หรือ ตรรกะ นั้นคือกระบวนการคิดและใช้เหตุผลซึ่งเรามักพบในชีวิตประจำวันอยู่แล้ว
โดยตรรกะของแต่ละคนนั้นจะแตกต่างกันไป ซึ่งมักจะแสดงออกมาเมื่อเจอเหตุการณ์ต่างๆ
เช่น เมื่อเจอฝนตกขณะเดินอยู่บางคนอาจรีบวิ่งไปยังที่หมาย แต่บางคนอาจหาที่หลบฝนรอฝนหยุดก่อน
ซึ่งนี่ก็แสดงให้เห็นถึงกระบวนการคิด และตรรกะที่แตกต่างกัน




แล้ว Fallacy ล่ะ?
เรารู้แล้วว่าแต่ละคนนั้นมีการคิดและใช้เหตุผลต่างกันออกไป
ทำให้บางทีนั้นเราอาจพบความคิดเพี้ยนๆ หรือการให้เหตุผลที่ไม่สมเหตุสมผลอยู่บ้าง
ซึงเราเรียกตรรกะที่ผิดพลาดนั้นว่า ตรรกะวิบัติ หรือ Fallacy นั่นเอง

ตรรกะวิบัตินั้นมักถูกนำมาใช้ในการหลอกลวง ด้วยการใช้คำพูดที่ดูเหมือนสมเหตุสมผล
แต่ไม่เป็นความจริงเลย หากใครไม่คิดตามให้ดีก็จะหลงเชื่อได้โดยง่าย



เอาล่ะในเมื่อเราทำความรู้จักกับตรรกะวิบัติกันแล้ว
ก็มาดูตัวอย่างตรรกะวิบัติกันต่อดีกว่า

- การละทิ้งข้อยกเว้น คือ การสรุปโดยไม่สนใจข้อยกเว้น
เช่น การฆ่าสิ่งมีชีวิตเป็นสิ่งที่ผิด เพราะฉะนั้นการกินยาไปฆ่าเชื้อโรคก็เป็นสิ่งที่ผิดด้วย

- การเหมารวม คือ การสรุปโดยยกตัวอย่างหนึ่งขึ้นมาแล้วเหมารวมว่าทุกอย่างต้องเป็นไปตามนั้น
เช่น นกทุกตัวบินได้ เพนกวินเป็นนก เพราะฉะนั้นเพนกวินบินได้

การเอาคำถามเป็นคำตอบ คือ การที่เอาคำถามที่ถูกถามมาเป็นคำตอบเสียเอง
เช่น A:"ทำไมคุณถึงเรียนเก่ง" B:"เพราะผมเก่ง"

การสรุปผลโดยใช้เพียงเหตุเดียว คือ การสรุปเอาเองว่า ถ้าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นต้องเกิดจากสาเหตุA เท่านั้น ทั้งที่ความจริงอาจเกิดจากสาเหตุ B, C, D ก็ได้
เช่น เด็กคนหนึ่งฟังเพลงแล้วฆ่าตัวตาย เพราะฉะนั้นการฟังเพลงเป็นสาเหตุของการฆ่าตัวตาย

การบังคับเลือก คือ การสรุปโดยจำกัดทางเลือกที่เหมาะสม
เช่น ถ้าคุณไม่ใช่เสื้อแดง ก็ต้องเป็นเสื้อเหลือง

การสรุปเอาเอง คือ การสรุปโดยใช้เหตุและผลที่ไม่เกี่ยวข้องกันเลย
เช่น เขาเป็นคนดูดี เพราะงั้นเขาต้องเก่งมากแน่ๆ

การสรุปเกินจริง คือ การเอาสาเหตุเล็กน้อย มาสรุปว่าต้องเกิดผลที่ร้ายแรง
เช่น คุณเหยีบมดตายโดยไม่รู้สึกเสียใจอะไรเลย แปลว่าคุณคงฆ่าคนได้โดยไม่รู้สึกอะไรเลยเช่นกัน

การเปรียบเทียบไม่เหมาะสม คือ การนำสิ่งที่คล้ายกันมาเปรียบเทียบกันไปเรื่อยๆจนได้สรุปที่เกินจริง
เช่น ดาบกับระเบิดใช้ฆ่าคนได้เหมือนกัน แสดงว่าดาบเป็นอาวุธร้ายแรงเหมือนระเบิด

คิดว่าไงกันบ้างกับตรรกะวิบัติแบบต่างๆ
บางข้อนั้นอาจจะดูเหมือนแปลกๆ แต่คราวหน้าถ้าได้คุยกับเพื่อนๆ
ลองสังเกตุดูหน่อยแล้วกันว่ามีใครใช้ตรรกะแบบนี้กันบ้างรึเปล่า
ไม่แน่อาจพบว่าเรากับตรรกะวิบัตินั้นอยู่ใกล้กันเกิดคาดก็ได้นะ

5 ความคิดเห็น:

  1. บทความแปลกดีนะ

    ตอบลบ
  2. เขาคิดว่าเขาใช้ตรรกะบังคับเลือกนะ
    เพราะตรรกะนี้เขาก็ใช้ เขาเป็นเสื้อ.... เขาจึงคิดว่าคนที่ไม่ใช่เสื้อ...จะเป็นเสื้อเหลืองนะ
    ใช่ๆๆ การเหมารวม นกทุกชนิดบินไม่ได้เสมอไปหรอก ดูอย่างนกกระจอกเทศดิยังบินไม่ได้เลย จะบินได้อย่างไร ก็ตัวมันใหญ่ซะขนาดนั้น

    ตอบลบ
  3. มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่สามารถใช้ตรรก ได้มากกว่าสิ่งมีชีวิตอื่น แล้วด้วยการความหลากหลายทางระบบนิเวศ(Ecological Diversity) จึงทำให้มนุษย์แต่ละคนมีประสบการณ์ที่แตกต่างกันออกไป ตรรกในกระบวนการทางความคิดจึงแตกต่างออกไปด้วยเช่นกัน แต่ตรรกที่วิบัตินั้นส่วนใหญ่ล้วนมาจากการคิดอย่างไม่รอบคอบหรือประสบการณ์ที่ผ่านมายังไม่เพียงพอต่อการให้และรองรับเหตุผลเหล่านั้นได้
    ผมมีอีกเรื่องหนึ่ง เรื่องศีลข้อที่หนึ่งของพระพุทธศาสนา ปาณาติปาตา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ บางคนเคยสงสัยเหมือนผมมั้ยครับ ว่า ถ้าเรากินยาหรือทายาเพื่อฆ่า ไวรัส แบคทีเีรีย หรือ พวกในkingdom fungi ในเวลาที่เราไม่สบายหรือเกิดโรค เราจะผิดไหม ผมได้รู้คำตอบว่ามันไม่ผิด เพราะในพระตรัยปิฎกได้บอกข้อยกเว้นไว้ว่า สิ่งมีชีวิตที่ฆ่าแล้วบาปนั้นคือสิ่งมีชีวิตที่มีลมหายใจเท่านั้น แต่พวกที่ผมยกมานั้นไม่มีการหายใจแต่อย่างใด จึงเป็นอันสรุปว่าไม่ผิดศีลนะครับ

    ตอบลบ
  4. ถ้ามองในแง่ดีก็ขำๆอ่ะน่ะ แต่ถ้าเอาเป็นงานเป็นการก็ต้องบอกเลยว่า

    นี่เป็นกระบวนการคิดของบุคคลแต่ล่ะบุคคล อาจมาจากการจงใจพูดเพื่อ

    ต้องการให้เป็นจุดสนใจหรือขอแค่ให้มีข้อโต้แย้งเถียงได้เป็นพอ ถึงแม้จะ

    เป็นเหตุผลที่ฟังไม่ขึ้น หรือไม่กระบวนการคิดของคน คนนั้นขาด

    ประสบการณ์ในการพิจารณา สิ่งต่างๆ รอบตัวที่ตนไม่เคยพบเห็นมาก่อน

    ตอบลบ
  5. หายนะของมนุษยชาติ เริ่มที่การคิดด้วยตรรกะผิดๆ

    ตอบลบ